เมนู

3. บุคคลผู้เนยยะ เป็นไฉน ?
การบรรลุมรรคและผลเป็นชั้น ๆ ไป ย่อมมีแก่บุคคลใด โดยเหตุ
อย่างนี้ คือ โดยอุเทศ โดยไต่ถาม โดยทำไว้ในใจโดยแยบตาย โดยสมาคม
โดยคบหา โดยสนิทสนมกันกับกัลยาณมิตร บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้เนยยะ.
4. บุคคลผู้ปทปรมะ เป็นไฉน ?
บุคคลใด ฟังพุทธพจน์ก็มาก กล่าวก็มาก จำทรงไว้ก็มาก บอกสอน
ก็มาก แต่ไม่มีการบรรลุมรรคผลในชาตินั้น บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้ปท-
ปรมะ.


อรรถกถาบุคคล ผู้อุคฆฏิตัญญู เป็นต้น


การยกญาณ คือปัญญาขึ้น ชื่อว่า อุคฺฆฏิตํ ซึ่งแปลว่า มีปัญญาอัน
เฉียบแหลม ในคำว่า อุคฺฆฏิตญฺญู นี้. อธิบายว่า ย่อมรู้ธรรมเพียงสักว่า อัน
ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดงเท่านั้นด้วยญาณ.
ข้อว่า "สห อุทาหฏเวลาย" ได้แก่ ในการนำหัวข้อมาตั้งไว้ คือ
ในขณะสักว่า นำอุเทศนาตั้งไว้เท่านั้น.
บทว่า "ธมฺมาภิสมโย" ได้แก่ การตรัสรู้สัจธรรมทั้ง 4 พร้อม
ด้วยญาณ คือ ปัญญา.
ลองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ เป็นผู้สามารถส่งญาณ
คือ ปัญญาไปตามกระแสแห่งพระธรรมเทศนา ตามที่ท่านตั้งบทมาติกาโดยย่อ
มีนัยเป็นต้นว่า "จตฺตาโร สติปฏฺฐานา" แล้วจึงถือเอาพระอรหัตได้ ท่าน
จึงเรียกผู้นี้ว่า อุคฆฏิตัญญู ซึ่งแปลว่า ผู้เฉียบแหลม เพียงยกหัวข้อธรรม
ขึ้นแสดงเท่านั้นก็รู้ทันที.

บุคคลใดย่อมรู้อรรถ ที่ท่านอธิบายทำให้พิศดารนั่นแหละ เพราะเหตุ
นั้นบุคคลนั้นจึงชื่อว่า วิปัญจิตัญญู แปลว่า ผู้รู้อรรถอันท่านอธิบายแล้ว
สองบทว่า "อยํ วุจิจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้มีความสามารถ
เพื่อบรรลุพระอรหัต ในเมื่อมีผู้อื่นตั้งบทมาติกาไว้โดยย่อแล้วจำแนกเนื้อ
ความโดยพิศดาร ท่านจึงเรียกว่า วิปัญจิตตัญญู.

วิเคราะห์ศัพท์ เนยยบุคคล


อุทฺเทสาทีหิ เนตพฺโพติ เนยฺโย

บุคคลใด อันผู้อื่นพึงแนะนำ
ด้วยบททั้งหลายมีอุเทศเป็นต้น เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า เนยฺโย
ผู้อันบุคคลพึงแนะนำไป.
สองบทว่า "อนุปุพฺเพน ธมฺมาภิสมโย" ได้แก่ การบรรลุพระ-
อรหัตตามลำดับ.

วิเคราะห์ศัพท์ ปทปรมบุคคล


พฺยญฺชนปทเมว ปรมํ อสฺสาติ ปทปรโม

บทแห่งพยัญชนะนั่น
เทียว เป็นอย่างยิ่งของบุคคลนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า ปท-
ปรโม
ผู้มีบทอย่างยิ่ง.
ข้อว่า "น ตาย ชาติยา ธมฺมาภิสมโย โหติ" อธิบายว่า ปทปรม-
บุคคลนั้น ไม่สามารถเพื่อจะทำฌาน วิปัสสนา มรรค ผล ให้เกิดขึ้นได้ด้วย
อัตภาพนั้น.